ยินดีต้อนรับสู่ blogger PR 7029 เทคนิคการสร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้

โรคติดต่อคืออะไร???

 โรคติดต่อคืออะไร???

      โรคติดต่อหรือโรคติดเชื้อ หมายถึง  โรคที่เกิดจากเชื้อราหรือพิษของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง  เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถติดต่อไปถึงบุคคลอื่นได้  โดยอาจติดต่อระหว่างคนที่เป็นโรคไปสู่คนปกติ  ระหว่างคนกับสัตว์  หรือระหว่างสัตว์ด้วยกันเอง ทั้งนี้การติดต่อของโรคอาจเกิดจากการอยู่ใกล้ชิด สัมผัสกัน  หรือมีตัวกลางนำเชื้อโรคไปก็ได้  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  โรคที่มีปรสิต  อยู่บนผิวหนังหรืออยู่ในร่างกาย  เช่น  หิด  เหา  และหนอนพยาธิ  ถือเป็นโรคติดต่อด้วยเช่นกัน
แบ่งโรคติดต่อเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1.      โรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
2.      โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ
3.      โรคติดต่ออันตราย
4.      โรคติดต่อระหว่างประเทศ
5.      โรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก

1      โรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ.๒๕๒๓  กระทรวงสาธารณะสุขได้ประกาศ  เมื่อวันที่  ๑๘ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๒๔ ให้ทั้ง  ๔๔  โรคต่อไปนี้  เป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ
1.      อหิวาตกโรค
2.      กาฬโรค
3.      ไข้ทรพิษ
4.      ไข้เหลือง
5.      ไข้กาฬหลังแอ่น
6.      คอตีบ
7.      ไอกรน
8.      โรคบาดทะยัก
9.      โปลิโอ
10. ไข้หวัด
11. ไข้หวัดเยอรมัน
12. โรคคางทูม
13. ไข้สุกใส
14. ไข้หวัดใหญ่
15. ไข้สมองอักเสบ
16. ไข้เลือดออก
17. โรคพิษสุนัขบ้า
18. โรคตับอักเสบ
19. โรคตาแดงจากไวรัส
20. อาหารเป็นพิษ
21. โรคบอดบาซิลลาลี่
22. โรคบิดอมีบิก
23. ไข้รากสาดน้อย
24. ไข้รากสาดเทียม
25. ไข้รากสาดใหญ่
26. สครัพ  ไทฟัส
27. มูรีน  ไทฟัส
28. วัณโรค
29. โรคเรื้อน
30. ไข้จับสั่น
31. แอนแทรกซ์
32. โรคทริคิโนซิส
33. โรคคุดทะราด
34. โรคเล็พโทรไปโรซิส
35. ซิฟิลิส
36. หนองใน
37. หนองในเทียม
38. กามโรค
39. แผลริมอ่อน
40. แผลกามโรค
41. โรคไข้กลับซ้ำ
42. โรคอุจจาระร่วง
43. แผลเรื้อรัง
44. โรคเท้าช้าง

        โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ
1.      อหิวาตกโรค
2.      กาฬโรค
3.      ไข้ทรพิษ
4.      ไข้เหลือง
5.      โรคคอตีบ
6.      โรคบาดทะยักในเด็กเกิดใหม่
7.      โรคโปลิโอ
8.      ไข้สมองอักเสบ
9.      ไข้พิษสุนัขบ้า
10. ไข้รากสาดใหญ่
11. แอนแทรกซ์
12. โรคทริคิโนซิส
13. ไข้กาฬหลังแอ่น
14. โรคคุดทะราดระยะติดต่อ

         โรคติดต่ออันตราย  
1.      อหิวาตกโรค
2.      กาฬโรค
3.      ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ
4.      ไข้เหลือง

  โรคติดต่ออันตรายระดับชาติ
     องค์การอนามัยโรค  ได้กำหนดกฎอนามัยเกี่ยวกับโรคติดต่อ  เมื่อวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๕๒๔  โดยให้  ๔  โรคต่อไปนี้  เป็นโรคติดต่อระหว่างชาติ
1.       อหิวาตกโรค
2.      กาฬโรค
3.      ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ
4.      ไข้เหลือง


 โรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก
1.      ไข้กลับซ้ำ
2.      ไข้รากสาดใหญ่
3.      โปลิโอมัยเอไลตีส
4.      ไข้มาเลเลีย
5.      ไข้หวัดใหญ่

ชนิดของเชื้อโรค
  โดยทั่วไปจำแนกออกเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้  ๕  ชนิด
1     


       แบคทีเรีย  เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคที่จัดอยู่ในจำพวกพืชเซลล์เดียว  มีการเจริญเติบโต  ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัว
        



     

ไวรัส  เป็นจุลินทรีย์และเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเชื้อโรคสามารถผ่านเครื่องกรองที่ใช้กรองแบคทีเรียได้  เชื้อไวรัสจะมีอยู่ทั่วไปในอากาศ  โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส  เช่น  ไข้หวัดใหญ่  ไข้หวัด  คางทูม  หัด
     

      


         
 ริกเกตเซีย   เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคที่มีลักษณะกึ่งพืชกึ่งสัตว์และมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรียแต่ใหญ่กว่าเชื้อไวรัส  มีสภาพกึ่งแบคทีเรียกึ่งไวรัส   มักอาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นซึ่งเป็นพาหะของโรค  เช่น  เห็บ  เหา  หมัด  เป็นต้น
       

     

ราหรือเชื้อรา   เชื้อรามีอยู่  ๒ รูปแบบ  ราแบบกลม  เรียกว่า  ยีนส์  ส่วนราแบบสาย  เรียกว่า  สายรา  โรค เช่น โรคผิวหนัง  กลาก  เกลื้อน
     









     



 ปรสิต  เป็นจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคขนาดใหญ่  จัดอยู่ในจำพวกสัตว์  มีขนาดใหญ่กว่าเชื้อโรคชนิดอื่นๆ  เช่น  เหา  หิด  โลน  เป็นต้น 





การติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

 ทางระบบทางเดินหายใจหรือทางอากาศ  เป็นโรคติดต่อที่สำคัญที่สุดเชื้อโรคล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ ปะปนอยู่กับฝุ่นละออง  จึงทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้  เช่น  ไข้หวัดธรรมดา  ไข้หวัดใหญ่  วัณโรคปอด  เป็นต้น
    


     
ทางระบบทางเดินอาหารหรือทางอาหาร  เชื้อโรคบางชนิดอาศัยอยู่ในอาหารและน้ำจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายจากทางปากจากการรับประทานอาหาร  เช่น  บิด  ไทฟอยด์  ไข้รากสาดน้อย  อุจจาระร่วง  อหิวาตกโรค  เป็นต้น
    




     
ทางผิวหนัง 
3.1  โดยการสัมผัส  เช่น  โรคเรื้อน  กลาก  เกลื้อน  เป็นต้น
3.2  เข้าทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน  เช่น  เชื้อบาดทะยัก  เชื้อแบคทีเรีย  เป็นต้น
3.3  ถูกสัตว์หรือแมลงกัด
3.4  โดยการไชผ่านผิวหนัง  เช่น พยาธิปากขอ  เป็นต้น
                                        3.5  จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่เป็นโรค




8 ความคิดเห็น: